Blog

เมื่อไหร่ควร ตรวจเอชไอวี

ตรวจเอชไอวี ควรไปเมื่อไหร่ดี ?

หากคุณสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ การรีบปรึกษาแพทย์ หรือสถานพยาบาล เพื่อทำการ ตรวจเอชไอวี โดยเร็ว ไม่จำเป็นต้องรอให้แสดงอาการ เพราะความจริงนั้น ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวเลยว่าได้รับเชื้อมาเรียบร้อยแล้ว มันไม่มีสัญญาณใด ๆ ระบุได้ว่าอาการไหน คือคนที่ติดเชื้อแล้ว จนกว่าคนนั้นจะได้ทำการเจาะเลือด ข้อดีของการตรวจหาเชื้อเอชไอวี การตรวจหาเชื้อเอชไอวี มีข้อดีหลายประการ ดังนี้ รู้จัก WINDOW PERIOD กันก่อน! ระยะฟักตัว หรือ Window Period อธิบายง่าย ๆ คือ ช่วงเวลาที่คุณได้รับเชื้อเอชไอวีมาแล้ว แต่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Anti-body) ยังตรวจไม่พบเชื้อ ทำให้การเจาะเลือดตรวจในช่วงนี้ยังไม่พบเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะสามารถตรวจจับเชื้อเอชไอวีได้ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งแต่ละคนก็ใช้เวลาไม่เท่ากัน เพราะการตอบสนองของร่างกายต่อเชื้อไวรัสนั้นแตกต่างกัน เราจึงจำเป็นต้องรอระยะเวลาที่จะสามารถตรวจเอชไอวีพบเชื้อได้นั่นเอง แบบไหนควร ตรวจเอชไอวี? ต้องรอกี่วันถึงไปตรวจเลือดได้? ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความก้าวไกลมาก ณ ปัจจุบัน ทำให้มีการพัฒนาชุดตรวจเอชไอวีที่ใช้กรรมวิธีที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้ การตรวจหาแอนติบอดีของเชื้อเอชไอวี (ANTI-HIV) แอนติบอดีนั้น ถูกสร้างขึ้นมา … Read more

ตอบทุกข้อสงสัย เกี่ยวกับ การตรวจ HIV ในปัจจุบัน

ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ การตรวจ HIV ในปัจจุบัน

เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ยังไม่สามารถคิดค้นวิธีการรักษาให้หายขาดได้ นั่นก็ คือ เชื้อเอชไอวี (HIV : Human Immunodeficiency Virus) ที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ง่ายมากกว่าปกติ อีกทั้งหากไม่เข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วแล้ว จะส่งผลต่อร่างกายทำให้เข้าสู่ระยะรุนแรง ที่หลายคนรู้จักกันดีในชื่อว่า ระยะเอดส์ นั่นเอง ด้วยความเชื่อ และความเข้าใจผิดที่ได้ส่งต่อกันมา เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลายคนไม่กล้าที่จะ ตรวจ HIV เพื่อเพิ่มการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากเอชไอวีเท่าที่ควร ซึ่งมีแง่มุมต่อผู้ป่วยเอชไอวีในทางลบ จนส่งผลต่อการเลือกปฏิบัติไปจนถึงการตีตราผู้ป่วย นำมาสู่ความกลัว ไม่กล้า ไม่ต้องการถูกมองว่าเป็นผู้ที่น่ารังเกียจของสังคม จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า การตรวจ HIV กลายเป็นทางเลือกที่หลายคนไม่กล้าปรึกษาแพทย์โดยตรง ทั้งที่ตนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูงก็ตาม ในบทความนี้ เราได้รวบรวมคำตอบของทุกข้อสงสัย เกี่ยวกับการตรวจ HIV ที่คัดสรรมาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้วว่า พบคำถามเหล่านี้บ่อยครั้งจากหลากหลายแหล่ง รวมไปถึงความเข้าใจผิด ๆ ที่ต้องการให้ผู้คนทั่วไปเข้าใจไปในทิศทางถูกต้อง และเปลี่ยนทัศนคติต่อการตรวจ HIV การป้องกัน HIV การรักษา HIV ไปจนถึงการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นหลังจากทราบผลการตรวจ HIV ว่าติดเชื้อเอชไอวี ทั้งหมดนี้จะให้ความรู้และไขข้อข้องใจได้ครบถ้วนมากน้อยแค่ไหน ไปติดตามในเนื้อหากันได้เลย … Read more

ANTI HIV เป็นการตรวจเอชไอวีแบบไหน

ANTI-HIV เป็นการตรวจเอชไอวีแบบไหน

การตรวจ ANTI-HIV (แอนติบอดีเอชไอวี) หรือ HIV Antibody Test เป็นการตรวจ เพื่อหาแอนติบอดีที่เกิดขึ้นโดยตรงกับเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดของมนุษย์ โดยใช้เลือดของผู้ตรวจเป็นตัวอย่าง ซึ่งการตรวจเอชไอวีสามารถทำได้โดยใช้วิธีการตรวจแบบ ELISA (Enzyme-linked Immunosorbent Assay) หรือวิธีการวิเคราะห์หาโปรตีนโดยเทคนิค Western Blot ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่มีความแม่นยำสูง และได้รับการยอมรับในการตรวจเชื้อไวรัสเอชไอวี การตรวจสอบเอชไอวีจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี ในบางกรณีอาจจะใช้เวลานานขึ้นกว่านี้ ระยะเวลาการตรวจเอชไอวีมีความสำคัญอย่างมาก ในการวินิจฉัยว่าบุคคลนั้นติดเชื้อไวรัสเอชไอวีแล้วหรือไม่ การตรวจเอชไอวีเป็นการตรวจที่มีความปลอดภัยสูง และไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่อยากรู้สถานะเอชไอวีของตัวเอง วิธีการตรวจANTI-HIV ทำงานอย่างไร? ในช่วงเริ่มต้นของการติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสเองยากต่อการตรวจพบ การตรวจเอชไอวี จึงมักจะเน้นการตรวจการตอบสนองของร่างกายที่มีต่อเชื้อไวรัส เป็นการวัดปริมาณของเชื้อไวรัสเอชไอวีในกระแสเลือด ด้วยวิธีนี้เพื่อช่วยวินิจฉัยเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ในระยะเริ่มต้น ซึ่งโครงสร้างสำคัญที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของร่างกาย คือ แอนติบอดี ที่ถูกผลิตโดยธรรมชาติ และเข้าต่อสู้กับเชื้อไวรัส เมื่อมีการตรวจเอชไอวีก็จะตรวจสอบการมีแอนติบอดีต่อการมีเชื้อไวรัสเอชไอวี แบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือ ELISA (EIA) และ Western Blot ที่สามารถตรวจสอบได้จากตัวอย่างน้ำลายในปาก (Oral Fluid) ในปัจจุบัน ผลการตรวจ ANTI-HIV หมายถึงอะไร? … Read more

ถุงยางอนามัย สวมเถอะ! เรื่องจำเป็น

ถุงยางอนามัย สวมเถอะ! เรื่องจำเป็น

ถุงยางอนามัย เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดที่ใช้ในการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ มักทำจากน้ำยางยูรีเทน โพลีไอโซพรีน หรือหนังแกะที่ออกแบบมา เพื่อให้ครอบคลุมองคชาต หากใช้อย่างถูกต้อง และเป็นประจำสม่ำเสมอ ถุงยางอนามัยคือหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกันเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ ถุงยางอนามัยมีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในร้านขายยา ร้านขายของชำ และออนไลน์ มีให้เลือกหลายขนาด สี และพื้นผิว เพื่อให้เหมาะกับความชอบส่วนบุคคล ทำไมต้องใส่ ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ควรสวมบนองคชาตขณะมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันอสุจิเข้าสู่ช่องคลอด มีเหตุผลสำคัญหลายประการที่ควรสวมถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์ คือ แล้วถ้าไม่ใส่ถุงยาง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง? หากคุณไม่สวมถุงยางอนามัยระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ คุณอาจเสี่ยงต่อโรคหลายประการ ได้แก่ สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าถุงยางฯ ไม่ได้มีประสิทธิภาพ 100% ในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือการตั้งครรภ์ แต่สามารถลดความเสี่ยงได้อย่างมาก หากคุณมีเพศสัมพันธ์ ขอแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง และเข้ารับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำ และพูดคุยกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเกี่ยวกับทางเลือกในการคุมกำเนิดเพื่อช่วยปกป้องสุขภาพทางเพศของคุณ วิธีเลือกใช้ ถุงยางอนามัย ที่ถูกต้อง การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องเป็นขั้นตอนสําคัญในการป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ต่อไปนี้เป็นคําแนะนําทีละขั้นตอนเกี่ยวกับวิธีใช้ถุงยางอนามัย โปรดจำไว้ว่าถุงยางอนามัย จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อใช้อย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง หากมีข้อสงสัยหรือข้อกังวลเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัย ควรปรึกษาแพทย์ ถุงยางอนามัย ซื้อง่าย มีขายแทบทุกที่ ถุงยางฯ มีจำหน่ายอย่างแพร่หลายในประเทศไทย และหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อ … Read more

หูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่น่ากลัวไม่แพ้โรคเอื่นๆ

“หูดหงอนไก่” โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่น่ากลัวไม่แพ้โรคเอื่นๆ

หูดหงอนไก่ เป็นหูดที่พบได้บ่อยบริเวณอวัยวะเพศ โดยเกิดจากเชื้อไวรัส ‘HPV’ (Human Papilloma Virus) จัดว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยมากที่สุด ส่วนใหญ่จะพบในช่วงวัยที่กำลังเจริญพันธุ์ คือ ช่วงอายุ 17 – 33 ปี ทั้งชายและหญิง แต่พบได้ในเพศหญิงเสียมากกว่า บางครั้งหูดหงอนไก่ อาจเรียกในชื่ออื่นได้อีกว่า หงอนไก่ , หูดอวัยวะเพศ หรือหูดกามโรค ปัจจุบันมีการค้นพบสายพันธุ์ของไวรัส HPV ได้ประมาณ 100 สายพันธุ์ย่อย บางสายพันธุ์อาจทำให้เกิดหูดที่บริเวณผิวหนัง บางสายพันธุ์ก็อาจทำให้เกิดหูดหงอนไก่ ส่วนบางสายพันธุ์ก็จะเข้าไปทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในระบบสืบพันธุ์ อาทิ มะเร็งปากมดลูก อีกทั้งยังเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งทวารหนักได้อีกด้วย ปริมาณ 90% ของผู้ที่เป็นหูดหงอนไก่นั้นพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัส HPV 6 และ 11 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อย ความเสี่ยงที่เชื้อไวรัสนี้จะเข้าไปทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งค่อนข้างต่ำ เชื้อ HPV ในชนิดที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งในระบบสืบพันธุ์และทางเดินอุจจาระก็คือ HPV 16 และ 18 ในระยะเริ่มต้น เมื่อผิวหนังได้รับเชื้อ หรือติดเชื้อ HPV ผ่านทางรอยถลอกที่ผิวหนัง ก็จะมีระยะฟักตัวของเชื้อที่ยังไม่แสดงอาการว่าเป็นโรคใดโรคหนึ่งเป็นเวลาหลายเดือน … Read more

โรคเริม (HERPES)รักษาได้แต่ไม่หายขาด

โรคเริม (HERPES)รักษาได้แต่ไม่หายขาด

เริม หรือ โรคเริม นั้นถ้าติดเชื้อแล้วจะมีเชื้อนั้นไปตลอดชีวิต เนื่องจากไวรัสยังคงอยู่ในร่างกายถึงแม้จะไม่แสดงอาการ ไวรัสสามารถแสดงอาการได้เป็นระยะ นำไปสู่อาการที่มีลักษณะเป็นแผลพุพอง อาการนี้สามารถกระตุ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ ความเครียด  การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคเริม เกิดจากอะไร? เริมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อ Herpes simplex virus หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Herpes ซึ่งมี 2 สายพันธุ์ คือ Herpes simplex virus ชนิด 1 (HSV-1) และ Herpes simplex virus ชนิด 2 (HSV-2)  เมื่อได้รับเชื้อเริมครั้งแรกจาก การสัมผัสโดยตรงจากผู้ที่เป็นโรคผ่านทางน้ำลาย หรือรอยโรค อาจแสดงอาการหรือไม่ก็ได้ โดยเชื้อไวรัสจะเข้าทางผิวหนัง และไปสะสมอยู่ที่ปมประสาท เมื่อมีปัจจัยมา กระตุ้น เชื้อไวรัสก็จะออกมาตามเส้นประสาทไปถึงปลายประสาททำให้เกิดรอยโรคที่ผิวหนัง หรือเยื่อบุ  เริมสามารถเกิดได้หลายตำแหน่ง เช่น บริเวณอวัยวะเพศหญิง ช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก อวัยวะเพศชาย ถุงอัณฑะ ก้น ต้นขาด้านใน ริมฝีปาก … Read more

โรคซิฟิลิส (SYPHILIS) อันตรายแต่ป้องกันได้

โรคซิฟิลิส (SYPHILIS) อันตรายแต่ป้องกันได้

โรคซิฟิลิส เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนมากจะติดระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย โดยจะมีอาการที่เห็นได้ชัดคืออยู่ ๆ ร่างกายจะมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตามแขน ตามลำตัว หรือขึ้นพร้อมกันในบริเวณทั้งหมดที่กล่าวมา หากมีอาการดังกล่าวก็ควรเข้าพบแพทย์และรักษาให้หายขาดโดยเร็วที่สุด โรคซิฟิลิสคืออะไร ? ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากแบคทีเรีย ทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) พบได้บ่อย และสามารถ เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ แต่หากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว โรคซิฟิลิส ติดต่อได้อย่างไร ? ซิฟิลิสติดต่อจากคนสู่คนได้โดยง่าย จากการสัมผัส จูบ กอด เพศสัมพันธ์ สามารถติดผ่านผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ ได้ ทารกในครรภ์ติดเชื้อจากแม่ผ่านรกได้ สำหรับการติดต่อผ่านเลือด ติดผ่านได้ เช่น การใช้เข็มร่วมกัน การให้เลือด แต่เกิดได้น้อย โรคซิฟิลิสมีกี่ระยะ ? โรคซิฟิลิสแบ่งออกเป็น 4 ระยะ การรักษาโรคซิฟิลิส ผู้ป่วยโรคซิฟิลิสไม่ต้องกังวลไป เพราะหากตรวจพบเชื้อตั้งแต่ระยะต้น ๆ จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะ เพนนิซิลลิน เป็นเวลา 1-3 สัปดาห์ ทั้งนี้ระยะเวลาการรักษาขึ้นกับระยะของโรคที่เป็นด้วย … Read more

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ โรคหนองใน Gonorrhoea

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ โรคหนองใน (GONORRHOEA)

โรคหนองใน เป็นอีกหนึ่ง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน จึงสามารถรับเชื้อได้โดยง่ายแบบไม่ทันตั้งตัว และบ่อยครั้งผู้ป่วยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหนองใน  อาการจะรุนแรงมากน้อยแค่ไหน? โรคหนองในเป็นแล้วรักษาได้หรือไม่? เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหนองในมากขึ้น โรคหนองใน (GONORRHOEA) คืออะไร? โรคหนองใน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื้อว่า (ไนซีเรีย โกโนเรีย) Neisseria gonorrhea  สามารถติดต่อได้ทั้งชาย และหญิงรวมทั้งทารกแรกเกิด โรคหนองในสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นหมัน หรืออาการอักเสบในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น โรคหนองในสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ระยะฟักตัวของโรค หลังจากที่ได้รับเชื้อ ก็มักจะแสดงอาการภายใน 2 – 10 วัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะแสดงอาการภายใน 5 วัน สาเหตุของโรคหนองใน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ ไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า โกโนค็อกคัส (Gonococcus ) ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในน้ำอสุจิและน้ำในช่องคลอด  จึงทำให้เชื้อโรคนี้แพร่ผ่านและติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก อาการโรคหนองใน โรคหนองใน ในผู้ชายมีอาการอย่างไร? หนองในในผู้หญิง มีอาการอย่างไร? นอกจากนี้การติดเชื้อหนองในแท้ที่บริเวณอื่น ๆ … Read more

ความเสี่ยงจาก ออรัล เซ็กส์

ความเสี่ยงที่มาพร้อมกับ ออรัล เซ็กส์

ออรัล เซ็กส์ (Oral Sex) ถือเป็นวิธีการมีเพศสัมพันธ์ อย่างหนึ่งที่ทำให้คู่รักรู้สึกเพลิดเพลิน หากทั้งสองฝ่ายยินยอมพร้อมใจ แต่ในบางครั้งการทำออรัลเซ็กส์อาจนำมาซึ่งโรคร้ายต่าง ๆ ได้ เช่น โรคติดเชื้อเอชพีวี ซิฟิลิส หรือแม้กระทั่งโรคเอดส์ ดังนั้น ก่อนจะทำออรัล เซ็กส์ ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค และการทำออรัล เซ็กส์อย่างปลอดภัย ออรัล เซ็กส์ (ORAL SEX) คือ อะไร ? การใช้ช่องปาก ริมฝีปาก หรือลิ้น ในการกระตุ้นบริเวณอวัยวะเพศชาย อวัยวะเพศหญิง ทวารหนัก หรือส่วนที่อยู่ใกล้เคียงกับบริเวณดังกล่าว เพื่อให้คู่นอนอีกฝ่ายเกิดอารมณ์ทางเพศ ซึ่งทำได้ทั้งคู่รักเพศเดียวกันและคู่รักต่างเพศ การออรัล เซ็กส์นั้นเป็นสิ่งที่ทั้งผู้ชาย และผู้หญิงต่างปรารถนาเป็นอย่างมาก บางคนเพียงแค่ถูก ออรัล เซ็กส์ก็สามารถเสร็จได้โดยไม่ต้องสอดใส่ ข้อดีของออรัล เซ็กส์คืออะไร ไม่ทำให้ท้อง และทำให้ฝ่ายหญิง และฝ่ายชายพอใจในเพศรสมากขึ้น และมีคนกลุ่มไม่น้อยที่ชอบออรัล เซ็กส์ มากกว่าการมีเซ็กส์จริงๆ เสียอีก ข้อเสียของออรัล เซ็กส์ สามารถติดโรคได้ทุกโรค เนื่องจากการกลืนน้ำหล่อลื่นฝ่ายหญิง หรือน้ำอสุจิของชายที่มีโรค อาจทำให้ติดโรคได้ง่ายขึ้น และโรคที่มีโอกาสติดผ่านการทำรักทางปาก … Read more

หนองใน เกิดขึ้นเองได้ไหม

หนองใน เกิดขึ้นเองได้ไหม

หนองใน เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ถูกตรวจพบเป็นอันดับต้น ๆ ประมาณร้อยละ 40 ของโรคติดต่อที่มาจากกิจกรรมทางเพศทั้งหมด ที่จริงแล้ว สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ไม่จำกัดเฉพาะชาย หรือหญิง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงอายุตั้งแต่ 15 – 24 ปี หนองใน ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ การติดต่อของเชื้อนี้ ผู้นั้นจะต้องได้รับความเสี่ยงมา โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ถึงจะติดเชื้อได้ เราจึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของ การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บ่อยๆ เพราะเราไม่รู้ว่าใครมีเชื้อโรคอะไรอยู่ในร่างกายหรือไม่ และ จะสามารถไว้ใจในคู่นอนของคุณได้แค่ไหน เมื่อพิจารณาจากประเด็นเหล่านี้ วันนี้ เรามาเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับโรคหนองในเพิ่มเติมกันครับ หนองใน มีกี่ประเภท หนองในมีหลายประเภท โดยอาจแบ่งตามลักษณะของหนอง และสาเหตุที่เกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ปัจจัยไหนบ้าง? ที่เสี่ยงติดหนองใน ถ้าไม่อยากเป็นหนองในต้องป้องกันอย่างไร สวมถุงยางอนามัย ไม่ว่าจะเป็น คู่นอนประจำ แฟนของคุณ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก การออรัลเซ็กส์ ก็ควรสวมทุกครั้ง งดการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เพราะเราไม่รู้ว่าใครมีโรคติดต่ออะไรอยู่หรือไม่ ก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรทำความสะอาดอวัยวะเพศและร่างกายให้เรียบร้อย หมั่นตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี … Read more