ไวรัสตับอักเสบซี เป็นปัญหาสุขภาพที่มีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกถูกเชื้อไวรัสตับอักเสบซีนั้นเข้าทำลายตับ โรคนี้มักจะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่อาจนำไปสู่ความเสียหายของตับ และอาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งในตับได้หากไม่ได้รับการรักษา ในบทความนี้ เราจะเจาะลึกความซับซ้อนของโรคไวรัสตับอักเสบซี โดยสำรวจสาเหตุ อาการ และทางเลือกการรักษาต่างๆ
ไวรัสตับอักเสบซีคืออะไร
ไวรัสตับอักเสบซีคือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิด ซี (HCV) ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบบเฉียบพลันเป็นภาวะเจ็บป่วยระยะสั้นที่เกิดขึ้นประมาณ 6 เดือน หลังจากที่ผู้นั้นสัมผัสเชื้อไวรัสตับอักเสบซีครั้งแรก โดยปกติการติดเชื้อแบบเฉียบพลันจะไม่กลายเป็นการติดเชื้อแบบเรื้อรังเสมอไป และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง เป็นภาวะเจ็บป่วยระยะยาวซึ่งเกิดขึ้นเมื่อยังคงมีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายของผู้นั้น ภาวะการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสามารถคงอยู่ได้ตลอดชีวิต และนำไปสู่สภาวะที่เป็นอันตรายต่อตับรวมถึงภาวะตับแข็ง หรือมะเร็งตับในที่สุด
ไวรัสตับอักเสบซี อาการเป็นอย่างไร?
ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีจำนวนมากไม่มีอาการใด ๆ ในระยะเริ่มต้นของโรค อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง
- ปัสสาวะสีเข้ม
- อุจจาระสีซีด
- ตัวเหลืองหรือตาเหลือง
หากคุณมีอาการเหล่านี้ สิ่งสำคัญคือต้องรีบพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง
ไวรัสตับอักเสบซีติดต่อได้อย่างไร
- จากการรับเลือด หรือส่วนประกอบของเลือดที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีอยู่
- จาการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
- จาการมีคู่นอนหลายคน
- จาการที่ใช้เข็มสัก หรือเจาะตามร่างกายร่วมกัน
- จาการที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
- จาการติดต่อจากมารดาไปสู่ทารก พบได้น้อยมาก
- จาการใช้แปรงสีฟัน กรรไกร หรือที่ตัดเล็บร่วมกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ไม่ติดต่อทางการรับประทานอาหารร่วมกัน การใช้จามชามช้อนส้อมด้วยกัน การให้นมบุตร การกอด หรือการจูบ ร่วมถึงไม่ติดต่อผ่านการสัมผัส หรือไอ จาม รดกัน
ใครบ้างที่ควรตรวจ ไวรัสตับอักเสบซี
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
- ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
- ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้อื่น
- ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
- ผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี
- บุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกเข็มตำจากผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี
- ผู้ที่ใช้ของส่วนตัวที่เปื้อนเลือดร่วมกัน เช่น มีดโกน หรือกรรไกรตัดเล็บ
- ทารกที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (ติดได้แต่พบน้อย)
- ผู้ที่เคยได้รับเลือดก่อนปี พ.ศ.2535 เนื่องจากยังไม่มีการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
การวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบซี
- ซักประวัติ: ถามเกี่ยวกับอาการ ปัจจัยเสี่ยง และประวัติการสัมผัสกับเชื้อไวรัส
- ตรวจร่างกาย: ตรวจหาอาการของตับอักเสบ เช่น ดีซ่าน ตับโต ม้ามโต
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบซี (Anti-HCV): ตรวจหาว่าเคยติดเชื้อหรือไม่
- ตรวจหา RNA ของไวรัสตับอักเสบซี: ตรวจหาว่ามีเชื้ออยู่ในร่างกายหรือไม่
- ตรวจหาปริมาณไวรัส: ตรวจหาจำนวนเชื้อในเลือด
- ตรวจการทำงานของตับ: ตรวจหาความเสียหายของตับ
- ตรวจอื่นๆ: ตรวจหาภาวะแทรกซ้อน เช่น ตับแข็ง มะเร็งตับ
การป้องกันไวรัสตับอักเสบซี
- ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- สวมถุงมือทุกครั้งหากต้องสัมผัสเลือด
- หลีกเลี่ยงการใช้มีดโกนหนวด แปรงสีฟันร่วมกัน
- ตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบซีเป็นประจำ
การรักษา ไวรัสตับอักเสบซี
ในอดีต ไวรัสตับอักเสบซีเป็นโรคร้ายที่ยากจะรักษา แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้พัฒนาไปมาก ยาต้านไวรัสชนิดใหม่มีประสิทธิภาพสูง ร่วมกับยาฉีด สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายขาดได้ สามารถกำจัดเชื้อให้หายขาดอย่างถาวร โดยแพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ไวรัสตับอักเสบซี เป็นโรคที่ส่งผลต่อตับโดยตรง และเป็นโรคที่มักไม่แสดงอาการในระยะแรก หากไม่ได้รับการรักษา มีโอกาสพัฒนาเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ ดังนั้น หากคุณมีความเสี่ยงต่อโรคไวรัสตับอักเสบซี แนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจคัดกรอง เพราะหากพบเจอ จะได้เข้ารับการรักษาที่ทันท่วงที