หนองใน เกิดขึ้นเองได้ไหม

หนองใน เกิดขึ้นเองได้ไหม

หนองใน เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ถูกตรวจพบเป็นอันดับต้น ๆ ประมาณร้อยละ 40 ของโรคติดต่อที่มาจากกิจกรรมทางเพศทั้งหมด ที่จริงแล้ว สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ไม่จำกัดเฉพาะชาย หรือหญิง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงอายุตั้งแต่ 15 – 24 ปี หนองใน ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ การติดต่อของเชื้อนี้ ผู้นั้นจะต้องได้รับความเสี่ยงมา โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ถึงจะติดเชื้อได้ เราจึงเน้นย้ำถึงความสำคัญของ การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บ่อยๆ เพราะเราไม่รู้ว่าใครมีเชื้อโรคอะไรอยู่ในร่างกายหรือไม่ และ จะสามารถไว้ใจในคู่นอนของคุณได้แค่ไหน เมื่อพิจารณาจากประเด็นเหล่านี้ วันนี้ เรามาเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับโรคหนองในเพิ่มเติมกันครับ

หนองใน มีกี่ประเภท

หนองในมีหลายประเภท โดยอาจแบ่งตามลักษณะของหนอง และสาเหตุที่เกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • ประเภทที่ 1 : หนองใน แท้
    • หนองในแท้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า Neisseria Gonorrhoeae (ไนซีเรีย โกโนเรีย) มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างกลม จัดเป็นกลุ่มเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ อยู่กันเป็นคู่เว้าเข้าหากันคล้ายเมล็ดกาแฟ หรือเมล็ดถั่ว โดยพื้นฐานแล้ว จะชอบอาศัยอยู่ในที่ชื้นและอบอุ่น เพราะเหตุนี้ จึงมักเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ปากมดลูก มดลูก ปีกมดลูก ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ลำคอ และเยื่อบุตา เป็นต้น
  • ประเภทที่ 2 : หนองใน เทียม
    • หนองในเทียม เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า Chlamydia Trachomatis (คลามัยเดีย ทราโคมาติส) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า คลามัยเดีย เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่ในเซลล์ของร่างกาย ส่วนใหญ่ หนองในเทียมจะไม่แสดงอาการ เหนือสิ่งอื่นใด กว่าผู้ติดเชื้อจะรู้ว่าเป็นโรคนี้ ก็ต่อเมื่อได้รับการตรวจเท่านั้น หากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ภาวะมีบุตรยาก ปวดท้องน้อยเรื้อรัง และการตั้งครรภ์นอกมดลูก
หนองใน ติดต่อได้จาก

ปัจจัยไหนบ้าง? ที่เสี่ยงติดหนองใน

  1. มีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก โดยไม่สวมถุงยางอนามัย
  2. ติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ระหว่างการคลอดที่สัมผัสเชื้อโดยตรง
  3. มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือใช้บริการทางเพศบ่อยครั้ง

ถ้าไม่อยากเป็นหนองในต้องป้องกันอย่างไร

สวมถุงยางอนามัย ไม่ว่าจะเป็น คู่นอนประจำ แฟนของคุณ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก การออรัลเซ็กส์ ก็ควรสวมทุกครั้ง
งดการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เพราะเราไม่รู้ว่าใครมีโรคติดต่ออะไรอยู่หรือไม่
ก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรทำความสะอาดอวัยวะเพศและร่างกายให้เรียบร้อย
หมั่นตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำทุกปี
รักเดียวใจเดียว ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือไม่ดื่มของมึนเมาจนเผลอมีอะไรกับใครไม่ได้สติ

หนองใน มีอาการอย่างไร

หนองในแท้ มีระยะฟักตัวค่อนข้างเร็ว คือ 1 – 10 วันก็สามารถตรวจพบได้แล้ว แต่หากจะ เปรียบเทียบ กับหนองในเทียมจะมีระยะฟักตัวที่มากกว่า อาการเรื้อรังนานกว่า แต่ไม่ค่อยรุนแรงเท่าหนองในแท้ อาการที่พบมักจะเกิดในบริเวณที่ติดเชื้อมาตั้งแต่แรก นอกเหนือจากนั้น ก็ยังมีความแตกต่างกันของอาการในผู้ชาย และผู้หญิง ดังต่อไปนี้

หนองในเพศชาย

ในผู้ชายที่มี อาการหนองใน มักจะพบว่ามีของเหลวที่เข้มข้นและมีสีเหลืองหรือสีขาว ซึ่งมีลักษณะเหมือนหนองข้นๆ ไหลออกมาจากปลายองคชาต หลังจากนั้น ยังมีอาการอื่นๆ เช่น รู้สึกแสบขัดเวลาการปัสสาวะ ปวดบวมที่อัณฑะ และท่อปัสสาวะที่อักเสบ อาจมีอาการเจ็บคอ คออักเสบ อ่อนเพลีย และปวดเมื่อยที่ร่างกาย รวมไปถึง ยังอาจมีผื่นขึ้นบริเวณรอบอวัยวะเพศหรือรอบรูทวารหนักด้วย

หนองในเพศหญิง

การมีประจำเดือนที่ไม่ปกติเป็นสัญญาณที่สำคัญ ที่ช่วยให้ตระหนักว่าอาจมีปัญหาสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น มีปริมาณประจำเดือนน้อยลง การมีการตกขาวมากเกินไปโดยมีลักษณะของของเหลวที่มีสีเหลืองหรือเขียวและมีกลิ่นเหม็น อาจมีการของเหลวที่ออกมาจากช่องคลอดหรือทวารหนัก รวมทั้ง มีอาการเจ็บบริเวณอุ้งเชิงกรานขณะมีเพศสัมพันธ์ และอาจมีอาการปัสสาวะลำบาก ปวดหรือแสบเวลาปัสสาวะ หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปยังมดลูก และท่อทางเดินรังไข่ เช่นเดียวกับ ยังอาจเกิดอาการมดลูก ปากมดลูก หรือปีกมดลูกอักเสบโดยมีการมีหนอง และมีเลือดออกที่ช่องคลอดระหว่างรอบเดือนได้เช่นกัน

จะรู้ได้อย่างไรว่าติดเชื้อ หนองใน

หากมีอาการ ดังกล่าวข้างต้น แนะนำให้พบแพทย์ เพื่อทำการตรวจและเก็บตัวอย่างปัสสาวะส่งเพาะเชื้อที่ห้องปฏิบัติการ ป้ายหนองที่ออกมาจากท่อปัสสาวะ หรือเก็บตัวอย่างช่องทางที่คุณมีเพศสัมพันธ์ เช่น ทางลำคอ หรือทางทวารหนักร่วมด้วย แพทย์จะนำไปพิจารณาและวินิจฉัยว่าคุณติดเชื้อหนองในหรือไม่ และเป็นหนองในประเภทใด รอผลการตรวจประมาณ 7 – 10 วัน ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลแต่ละแห่ง นอกจากนี้ หากคุณตรวจพบเชื้อหนองใน ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม ควรได้รับการตรวจหาเชื้อซิฟิลิส (VDRL) และตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ร่วมด้วย เนื่องจาก มีแนวโน้มสูงว่าจะติดเชื้อเหล่านี้ไปด้วย

ดังที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า หนองในแท้ และหนองในเทียมมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก แต่ถึงอย่างไร ในขั้นตอนของการรักษาโรคหนองในทั้งคู่ ก็มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ยาที่ใช้ก็เป็นคนละตัวยา หากคุณมีอาการที่ผิดสังเกตควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาในทันที ที่สำคัญ ควรได้รับการตรวจยืนยันจากแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้เลือกวิธีการรักษาที่ถูกต้อง และแม่นยำ ในขณะเดียวกัน ก็จะช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาที่ผิดวิธีได้

รักษาหนองในอย่างไร

การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ผู้ป่วยหนองในที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และผู้ป่วยหนองในที่มีภาวะแทรกซ้อน ดังนี้

หนองในที่ไม่มี
ภาวะแทรกซ้อน
การรักษา
หนองในที่อวัยวะเพศและทวารหนักใช้การฉีดยา Ceftriaxone 500 mg เข้ากล้ามเนื้อ 1 ครั้ง
หรือยา Cefixime 400 mg สำหรับทาน 1 ครั้ง
หนองในที่เยื่อบุตาใช้การฉีดยา Ceftriaxone 500 mg เข้ากล้ามเนื้อ 1 ครั้ง
หนองในที่ช่องคอใช้การฉีดยา Ceftriaxone 1 g เข้ากล้ามเนื้อ 1 ครั้ง
หรือหลอดเลือดดำ 1 ครั้ง และล้างตาด้วยน้ำเกลือปลอดเชื้อให้สะอาด
*ทุกการรักษาชนิดนี้จะร่วมกับการรักษาอาการหนองในเทียมด้วย

หนองในที่มีภาวะแทรกซ้อนการรักษาหมายเหตุ
หนองในเฉพาะที่ฝีในอวัยวะเพศ ลูกอัณฑะอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือดรักษาแบบเดียวกับหนองในที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน อย่างน้อย 2 วันขึ้นไปหรือจนกว่าจะหายดี
หนองในแพร่กระจายเลือดออกในชั้นผิวหนังหรือเยื่อบุ ภาวะโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ภาวะเอ็นอักเสบใช้การฉีดยา Ceftriaxone 1-2 g เข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง ต่อเนื่อง 4 สัปดาห์

วิธีดูแลตัวเองในขณะที่รักษาหนองในอยู่

ดูแลตัวเองระหว่างรักษา หนองใน
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะหายขาดจากโรค แต่หากจำเป็น ก็ควรสวมถุงยางอนามัย
  • ทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบ และมีวินัย ไม่ขาดยา เพื่อลดโอกาสดื้อยาที่อาจเกิดขึ้นได้
  • กลับไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อให้การรักษาหนองในเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
  • ดูแลรักษาความสะอาดของตัวคุณเอง ทั้งร่างกาย เสื้อผ้า โดยเฉพาะบริเวณที่อับชื้นอย่างอวัยวะเพศ
  • หากมีอาการผิดปกติใดๆ ไม่ควรหาซื้อยามาทานเอง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
  • ถ้าคู่นอนมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ คุณควรแนะนำให้มาพบแพทย์เช่นกัน เพื่อทำการตรวจ และรักษา ไม่ให้ติดเชื้อซ้ำซ้อนได้
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช่วยให้สุขภาพดีขึ้น ตับแข็งแรง หัวใจแข็งแรง สมองทำงานดีขึ้น และลดความเสี่ยงต่อโรงมะเร็ง เช่นเดียวกับ การงดสูบบุหรี่ทำให้คุณกลับมารู้สึกดีกับตัวเอง ตั้งเป้าหมาย และหาแรงบันดาลใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อช่วยเลิกบุหรี่
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน สร้างตารางการนอนที่สม่ำเสมอ เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา ไม่เครียด ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย และออกกำลังสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์

อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

กล่าวโดยสรุปคือ หนองใน สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วย การตรวจพบไว และเข้าพบแพทย์ทันที เพราะ หากเริ่มการรักษาตั้งแต่ระยะแรกที่พบเชื้อจะมีโอกาสที่จะหายจากโรคได้สูง รวมทั้ง ผู้ที่รักษาหนองในจนหายแล้วควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดี ตัวอย่างเช่น ไม่นำตัวเองไปเสี่ยงรับเชื้อเพิ่ม มีคู่นอนคนเดียวและคู่นอนคนนั้น ควรได้รับการตรวจหนองใน และไม่พบโรค ทั้งหมดนี้หมายความว่า ทุกคนควรให้ความสำคัญ ของการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ อันจะเป็นการลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำได้ในอนาคต